วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

วันเด็ก



วันเด็กแห่งชาติในประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 และได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2506 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา
Children's Day ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา
ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่
ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อมาก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กให้ จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ปี
นายกรัฐมนตรี
คำขวัญ
จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า[1]
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด[1]
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย[1]
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด[1]
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด[1]
ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ[1]
เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี[1]
เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี[1]
อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย[1]
ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย มีความเฉลียวฉลาด และรักชาติยิ่ง[1]
รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ[1]
เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส[1]
ยามเด็กจงหมั่นเรียนเพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ[1]
เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ[1]
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ[1]
สามัคคีคือพลัง[1]
เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี[1]
เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดีมีวินัยเสียแต่บัดนี้[1]
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย[1]
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง[1]
เด็กไทยคือหัวใจของชาติ[1]
อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย[1]
เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม[1]
ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติศาสน์กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย[1]
รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม[1]
รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา[1]
สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม[1]
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม[1]
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม[1]
รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา[1]
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม[1]
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม[1]
สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม[1]
มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด[1]
รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด[1]
ชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย[1]
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย[1]
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส[1]
เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี[1]
รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน[1]
เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด[1]
อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด[1]
มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข[1]
สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม[1]
ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี[1]
คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม[1]
รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ[1]
สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี[2]
รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน[1]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น